ในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีการติดตั้งโปรแกรมระบบปฎิบัติการ (OS) และโปรแกรมทีใช้งานต่างๆ เช่น โปรแกรมด้านสำนักงานที่ใช้ทำงานเกี่ยวกับระบบงานต่างๆ หรือโปรแกรมที่ใช้งานระบบฐานข้อมูล เป็นต้น เมื่อเริ่มใช้งานในระยะเวลาแรกการทำงานจะทำงานราบรื่น ผู้ใช้งานรู้สึกว่าทำงานปกติ เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง จะพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ทำงานตามเดิม แต่ผู้ใช้งานรู้สึกว่ามันทำงานช้าลง ไม่เร็วเหมือนกับตอนทีนำมาใช้งานช่วงแรกๆ เป็นผลมาจากปริมาณข้อมูลและอัตราการใช้งาของระบบเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไม่ได้มีการบำรุงรักษาหรือการปรับแต่งประสิทธิภาพระบบ ทำให้การใช้งานตามระบบงานเดิม ช้าลงมาก
หากผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ต้องการบำรุงรักษาหรือต้องการปรับแต่งประสิทธิภาพระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเร็วขึ้น ใกล้เคียงกับตอนแรกทีมีการใช้งาน จำเป็นต้องทราบองค์ประกอบของการทำงานทีเกี่ยวเพื่อใช้สามารถปรับแต่งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1.ระบบปฎิบัติการและซอฟต์แวร์ทีใช้งาน
โปรแกรมทีใช้งานส่วนใหญ่นั้นประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ (OS) และซอฟต์ใช้งานหลายแบบ แต่ละแบบที่ใช้งานจะขึ้นกับ hardware ทีนำมาใช้งาน ว่าเป็นแบบ 32 bit หรือ 64 bit หากใช้งานไม่ตรงกับ hardware ทีมีอยู่ อาจส่งผลให้ทำงานช้าได้ ตัวอย่าง
- hardware รองรับการทำงาน 64 bit แต่ติดตั้งโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง และระบบปฎิบัติการเป็น 32 bit เท่าว่าใช้งานสมรรถของ hardware ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
- ติดตั้งระบบปฎิบัติการ 64 bit แต่ โปรแกรมที่ใช้งานเป็นแบบ 32 bit เวลาใช้งานอาจจะมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ ควรเลือกใช้โปรแกรมทีรองรับการทำงานแบบ 64 bit
ในการใช้งานจริงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น แม้ว่าจะเลือกใช้งานทั้งระบบปฎิบัติการและโปรแกรมใช้งานเป็นแบบ 64 bit แล้วก็ตาม โดยเฉพาะหากเป็นระบบงานฐานข้อมูลหรือระบบโปรแกรมเฉพาะด้าน เช่นงานบัญชีการเงิน ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์อาจยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสมรรถนะของเครื่องยังไม่ถูกปรับแต่ง รีดความสามารถใช้งานออกมาเต็มที เป็นผลทำให้การทำงานตั้งแต่การรับส่งข้อมูลใน OS ทำงานช้า ส่งผลต่อการทำงานของ database และ application ที่ใช้งานอยู่ จนกระทั่งผู้ใช้งาน (USER) รู้สึกว่าการทำงานไม่ตอบสนองความเร็วเท่าทีควรจะเป็น
2. hardware ที่นำมาใช้งาน
จะเป็นอุปกรณ์ทีนำมาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ มักนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอันดับแรก จริงๆแล้วจะเกี่ยวข้องกับทุกอุปกรณ์ทีนำมาใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์นั้นๆ ว่าใช้งานแบบใด เช่น harddiskที่ใช้งาน แบบ sata หรือ ide , cpu แบบ 32 bit หรือ 64 bit ปัจจุบันจะมีรูปแบบทำงานที่ 64 bit แต่ยังมีบางรุ่นใช้งานมานานแล้ว ยังรองรับการทำงานแบบ 32 bit อยู่ หากเป็นเครื่องแม่ข่ายอาจจะมีการเชื่อมต่อ harddisk แบบ ภายในตัวเครื่องชนิด sas หรือ sata หรือ ide แบบติดตั้งภายนอกเพื่อใช้งานร่วมกันกับเครื่องแม่ข่ายแบบ SAN หรือ แบบ NAS ขึ้นกับประเภทการใช้งานของข้อมูลทีจะจัดเก็บ
เมื่อผู้ใช้งาน (USER) เข้าใช้งานระบบจะไม่ทราบว่าจริงๆแล้ว มีอุปกรณ์ทีใช้งานอะไรบ้างและทำงานเกี่ยวข้องกันอย่างไร และจะใช้งานบนเครื่องทีได้รับการมอบหมายสั่งงานให้ทำงานบนเครื่องนั้นๆ ส่วนใหญ่อายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้งานอย่างน้อย 3 ปี – 5 ปี เนื่องจากมีการเปลี่ยนเทคโนโลยีหรือเปลี่ยนตามรอบบัญชีทีต้องอัพเกรดใหม่ จึงทำการเปลี่ยนไปใช้งานบนเครื่องรุ่นใหม่ๆ
หากยังมีการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ชุดเดิม ผู้ใช้งาน (USER) อาจจะรู้สึกว่าทำงานช้า ไม่เร็วเหมือนแรกเริ่มทีใช้งาน ผู้ดูแลระบบสามารถปรับแต่ง hardware ที่มีอยู่ หรือเพิ่มเติมบางอย่างเข้าไปเพื่อช่วยให้เครื่องดังกล่าวทำงานเร็วขึ้นได้ แต่หากไม่สามารถปรับแต่งทางด้าน hardware ได้ ก็ยังมีหนทางในการปรับแต่งจากโปรแกรมทีใช้งานอยุ่ทั้งระบบปฎิบัติการและโปรแกรมใช้งานได้เช่นกัน เพราะส่วนใหญ่เครื่องคอมพิวเตอร์ทีมีการติดตั้งใช้งานมานั้น ยังไม่เคยมีการประแต่งประสิทธิภาพ เพียงแค่ใช้งานตามค่ามาตรฐานทีระบบปฎิบัติการกำหนดให้เมื่อแรกเริ่มใช้งานเท่านั้น
3. ระบบเครือข่ายที่ใช้งาน (Network)
เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องแม่ข่ายในปัจจุบัน จะมีการเชื่อมต่อโยงกันเป็นโครงข่ายกันตามลักษณะการใช้งานภายในองค์กรนั้นๆ เมื่อนำระบบงานฐานข้อมูล หรือระบบ application ทีต้องมีการเรียกใช้งานผ่านเครือข่าย อาจพบปัญหาในส่วนของตัวเครือข่ายทีใช้งานอยุ่ได้ เช่น เลือกใช้อุปกรณ์กระจายสัญญาณที่รองรับ10/100 เมกกะบิต หรือ รองรับ 1000 เมกกะบิต , port lan มีปัญหา ,การ์ด LAN ใช้งานไม่รองรับความเร็วสูงได้ ,ปริมาณการใช้งานของเครื่องที่มีอยู่มาก , การใช้งานผ่านระบบ wifi ทีไม่เสถียร รวมทั้งการวางโซนของเครื่องแม่ข่ายกับเครืองลูกข่ายไม่เหมาะสม ซึ่งปัญหาพวกนี้จะเป็นอุปสรรคในการใช้งานระบบเครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์ได้
หากผู้ดูแลระบบมีการวางแผนและทำการออกแบบระบบเครือข่ายตั้งแต่เริ่มต้นการใช้งานจะช่วยให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ แต่หากเป็นระบบเครือข่ายที่มีการใช้งานมานานแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนหรือต่อเติมเพิ่มได้ ก็ยังมีวิธีที่ช่วยให้สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับความสามารถของโครงข่ายนั้นได้ เช่นเพิ่มระบบ wifi ความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด หรือปรับแต่งประสิทธิภาพทางด้านระบบปฎิบัติการและระบบ application รวมทั้ง database ทำการ tuning เพิ่มเติมให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิมได้เช่นกัน